*Micro Mobility = ครอบครัวของอุปกรณ์น้ำหนักเบาที่ให้ความเร็วในการใช้งานธรรมดาน้อยกว่า 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเหมาะกับการเดินทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร หรือก็คือพาหนะเดินทางขนาดเล็กนั่นเอง
![](https://cdn.prod.website-files.com/60981ded6beade72008ec4f8/62a9d28e36e5fe03b2d23d44_03%20(1).jpg)
“ผมว่าพอเรามาเจอผู้ที่ใช้ มีประสบการณ์จริง มีปัญหาต่าง ๆ มาช่วยแจ้ง มันก็เป็นนิมิตหมายที่ดี”
ในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ได้มีการร่วมหารือของทางคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพกับกลุ่มผู้ใช้ยานพาหนะทางเลือกหรือ Micro Mobility นำโดยคุณฮาร์ท หรือนายสุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล โดยถือเป็นการรวมตัวกันจากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ใช้จักรยานไฟฟ้า กลุ่มผู้ใช้ล้อเดียวไฟฟ้า และรวมถึงสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าด้วย
คุณชัชชาติมองว่าการใช้ยานพาหนะทางเลือกเชื่อมต่อกับกับการเดินทางระบบใหญ่ เช่น การขี่จักรยานขึ้นรถไฟฟ้า หรือการขี่สกู๊ตเตอร์ไปจ่ายตลาด อยู่ในส่วนหนึ่งของนโยบายที่จะทำเส้นเลือดฝอยเชื่อมโยง และการหาจุดเชื่อมโยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเพิ่มเลนสำหรับการขับขี่ หรือการเพิ่มพื้นที่สำหรับจอดตามจุดต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่ดีมาก ๆ สำหรับกลุ่มผู้ใช้ยานพาหนะทางเลือก
![](https://cdn.prod.website-files.com/60981ded6beade72008ec4f8/62a9d2a36a23c4fdcebabdaf_04%20(1).jpg)
จุดมุ่งหมายหลักของการเพิ่มพื้นที่หรือเส้นทางในแต่ละจุดสำหรับการเดินทางโดยใช้จักรยานไฟฟ้าหรือสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้านี้คือลดการใช้รถยนต์ลง และผลักดันการใช้ Micro Mobility ร่วมกับขนส่สงสาธารณะให้มากขึ้นและสมบูรณ์ เพื่อเป็นการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมืองได้ดีมากขึ้น
อย่างไรก็ตามคุณชัชชาติได้กล่าวเพิ่มเติมไว้ว่าการใช้ยานพาหนะทางเลือกหรือ Micro Mobility เป็นหนึ่งในเครือข่ายที่ดีเพราะทำให้เห็นอีกหลาย ๆ ปัญหาที่ซ่อนอยู่หลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องขยะหรือทางเท้าที่มีปัญหา พร้อมยินดีให้ทุกคนสามารถแจ้งและร้องเรียนเข้ามาได้ทุกเมื่อ
![](https://cdn.prod.website-files.com/60981ded6beade72008ec4f8/62a9d2bb2cbcc6edfecbc0fe_05%20(1).jpg)
ท้ายนี้คุณชัชชาติมีโอกาสได้ลองขี่เจ้า Ninebot F40 ด้วย ทำให้สกู๊ตเตอร์ของเราดูแข็งแกร่งมาก
![](https://cdn.prod.website-files.com/60981ded6beade72008ec4f8/62a9d2c9cc3804cd5949354a_06%20(1).jpg)